ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2562 - 2563 ของท่าอากาศยานแพร่
ความเป็นมาของท่าอากาศยานแพร่
ท่าอากาศยานแพร่ ก่อสร้างขึ้นในระหว่างสงครามเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) ทางราชการได้เกณฑ์แรงงานราษฎรทุกหมู่บ้านมาช่วยกันสร้างสนามบินแพร่ ซึ่งพื้นผิวทางวิ่งในช่วงแรกเป็นพื้นดินลูกรัง เมื่อสงครามสงบลงทางราชการมิได้ใช้ประโยชน์สนามบินแต่อย่างใด จึงมอบหมายให้กองทัพอากาศดูแลใช้ประโยชน์จนกระทั่งปี พ.ศ. 2495สำนักงานการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการปรับปรุงสนามบินแห่งนี้เป็นสนามบินชั้น 3 มีพื้นผิวทางวิ่งเป็นดินลูกรัง ขนาด 30 x 1,200 เมตร และสร้างอาคารท่าอากาศยานเพื่อใช้ในกิจการพลเรือนและบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด เปิดทำการบินรับ-ส่งผู้โดยสาร พัสดุ และไปรษณีย์ภัณฑ์ ในเส้นทางกรุงเทพฯ-แพร่ โดยใช้เครื่องบินแบบ C-47,SH-330, ATR-42, BAE-146, ATR-72 ต่อมา ในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลได้มีนโยบายเปิดน่านฟ้าเสรี และให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานมากขึ้น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จึงได้หยุดการบินรับขนผู้โดยสาร เส้นทางกรุงเทพฯ-แพร่-น่าน-กรุงเทพฯ โดยให้บริษัท แอร์อันดามัน จำกัด มาทำการบินแทน ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2545 และ บริษัท แอร์อันดามัน จำกัด ได้หยุดบินเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2547
สรุปผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2562 2563
ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- คุณภาพอากาศ ประจำปี 2562 2563
- ระดับเสียง ประจำปี 2562 2563
- คุณภาพน้ำผิวดิน ประจำปี 2562 2563
- คุณภาพน้ำทิ้ง ประจำปี 2562 2563
- คุณภาพน้ำใช้ ประจำปี 2562 2563
- สรุปผลการสอบถามประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน ประจำปี 2562 2563
- สรุปผลการประเมินเสียงด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ประจำปี 2562 2563
- สรุปผลการศึกษานิเวศพืชพรรณ นกและสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อการบินประจำปี 2562 2563
ภาพประกอบการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- คุณภาพอากาศ ประจำปี 2562 2563
- ระดับเสียง ประจำปี 2562 2563
- คุณภาพน้ำผิวดิน ประจำปี 2562 2563
- คุณภาพน้ำทิ้ง ประจำปี 2562 2563
- คุณภาพน้ำใช้ ประจำปี 2562 2563
- การสอบถามประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน ประจำปี 2562 2563
- การประเมินเสียงด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ประจำปี 2562 2563
- การศึกษานิเวศพืชพรรณ นกและสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อการบิน ประจำปี - 2563